คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานปี 2563
ปี 2562 มีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้นในหลายประเทศรอบโลก ตัวอย่างเช่น
- เดือนมิถุนายน 2562 เกิดการประท้วงในฮ่องกง ซึ่งเริ่มจากการต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน การประท้วงได้ขยายกลาย เป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในฮ่องกงเสียหายอย่างหนัก
การเลื่อน Brexit หรือการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร มีการขอให้สหภาพยุโร - เลื่อนเส้นตาย Brexit หลายครั้ง เพื่อไม่ให้เกิด Brexit แบบไร้ข้อตกลง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เส้นตายสุดท้ายของ Brexit ที่สหภาพยุโรปอนุญาตคือ 31 มกราคม 2563
- ในระหว่างปี 2562 เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศ ต่างๆเป็นอย่างมาก สงครามการค้าได้บานปลาย เริ่มแรกจากเรื่องภาษี ขยายเป็นด้านเทคโนโลยี ค่าเงิน การลงทุน อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนได้หันหน้ามาเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า แต่หลายคนมองว่า เป็นแค่การยุติชั่วคราว เท่านั้น
ส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศในปี 2562 เศรษฐกิจไทยหดตัวในหลายภาคส่วน โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหดตัวอย่างรุนแรง ตามกำลังซื้อภายในประเทศจากผลของมาตรการควบคุมการให้สินเชื่อของธนาคารแห่งประเทศไทย และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของ สถาบันการเงิน นอกจากนี้ภาคการผลิตก็หดตัวตามรายได้จากการส่งออก เนื่องจากมาตรการกีดกันทางการค้า ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอ ตัว รวมทั้งผลของค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
ปี 2563 เกิดโรคระบาด COVID-19 ที่ระบาดไปทั่วโลก มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เศรษฐกิจทุกประเทศได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีการ ปิดประเทศห้ามการเดินทางเข้าออก ในไตรมาสสุดท้ายของปี โรคระบาดดูเหมือนจะคลายความรุนแรงลง แต่แล้วก็เกิดการระบาดใหม่รอบที่ สองไปทั่วโลกอีกครั้งหนึ่ง หลายประเทศที่พร้อมจะเปิดรับนักท่องเที่ยว กลับต้องปิดประเทศต่อไป
ช่วงปลายปี มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งการได้ผู้นำคนใหม่ยังไม่ได้มีการดำเนินการตามนโยบายใหม่ ใดๆที่เด่นชัดมาก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะปัญหาการประท้วงไม่รับผลเลือกตั้ง กับปัญหาโรคระบาด COVID-19 ที่ยังไม่สามารถหยุดยั้งได้ ด้านเศรษฐกิจภายในประเทศ ก็ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาด COVID-19 เช่นกัน จากการที่ต้องหยุดกิจการบางประเภท ชั่วคราวเพื่อยับยั้งการติดต่อของโรคระบาด แต่กลายเป็นหลายกิจการที่ต้องปิดตัวอย่างถาวร ธุรกิจท่องเที่ยวที่เป็นรายได้หลักของประเทศ ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เป็นลูกโซ่กระทบไปยังธุรกิจอื่นๆทั่วประเทศ
คำชี้แจงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานปี 2563
สรุปฐานะการเงินของบริษัทตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 สินทรัพย์รวมของกลุ่มบริษัทเท่ากับ 14,685.71 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 1,332.06 ล้านบาท
รายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านสินทรัพย์ ประกอบด้วย
1. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เท่ากับ 1,170.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 573.36 ล้านบาท เนื่องจากกลุ่มบริษัทได้รับเงินล่วงหน้าค่าก่อสร้างเข้ามา ทั้งนี้ เป็นไปตามเงื่อนไขของสัญญา
2. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เท่ากับ 2,794.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 448.12 ล้านบาทในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินตามระยะเวลาที่ กำหนด จะมีการคิดดอกเบี้ยสำหรับยอดหนี้ที่ได้รับชำระล่าช้า โดยคำนวณจากวันที่ครบกำหนดชำระตามเงื่อนไข และถือปฏิบัติ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งลูกหนี้การค้าทั่วไป และลูกหนี้การค้าที่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน แต่ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัท มีการผ่อนผันไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกหนี้การค้าบางรายที่มีการชำระล่าช้าเพียงเล็กน้อย เว้นแต่ในรายที่มีการฟ้องร้องให้ ชำระหนี้
บริษัทได้บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาด้านการชำระเงินทุกรายที่มียอดค้างชำระเกินหนึ่งปีขึ้นไปตามหลัก เกณฑ์และนโยบายของบริษัท
ลูกหนี้การค้าเปรียบเทียบยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 และวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เป็นดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ | ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ/ค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | ยอดหนี้รวม | ยังไม่ถึงกำหนดชำระ | ค้างชำระไม่เกิน 12 เดือน | ค้างชำระมากกว่า 12 เดือน |
ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 | 1,027.88 | 2,282.32 | 737.19 | 477.30 | 1,067.83 |
ลูกหนี้การค้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 | 1,049.35 | 2,756.15 | 1,282.46 | 428.91 | 1,044.78 |
เพิ่มขึ้น (ลดลง) | 21.47 | 473.83 | 545.27 | (48.39) | (23.05) |
3. สินทรัพย์ที่เกิดสัญญา ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ก่อนหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เท่ากับ 5,068.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 924.39 ล้านบาท สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาประกอบไปด้วยรายการต่างๆ ดังนี้
รายการ | ณ 31 ธ.ค.2563 | ณ 31 ธ.ค.2562 | เพิ่มขึ้น (ลดลง) |
รายได้ที่ยังไม่ได้เรียกเก็บ | 4,454.33 | 3,397.34 | 1,056.99 |
รายได้ค้างรับ | 70.44 | 30.88 | 39.56 |
เงินประกันผลงานค้างรับ | 543.91 | 716.07 | (172.16) |
รวม | 5,068.68 | 4,144.29 | 924.39 |
หัก ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ/ ค่าเผื่อผลขาดทุนด้สนเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น | (2.48) | 2.48 | – |
รวมสินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญา-สุทธิ | 5,066.20 | 4,141.81 | 924.39 |
4. สินค้าคงเหลือ ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 สุทธิเท่ากับ 895.64 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 431.76 ล้านบาท เนื่องจากได้มีการส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปประเภทผลิตภัณฑ์คอนกรีตที่ผลิตเสร็จและเตรียมส่งมอบ ไปให้แก่ผู้ซื้อ
รายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านหนี้สิน ประกอบด้วย
1.เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้น ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เท่ากับ 3,044.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 874.91 ล้านบาท จากการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มมากขึ้นจากสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการ ดำเนินงาน
2. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เท่ากับ 2,241.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 200.73 ล้านบาท
รายละเอียดของเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น มีดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ | ณ 31 ธ.ค.2563 | ณ 31 ธ.ค.2562 | เพิ่มขึ้น (ลดลง) |
เจ้าหนี้การค้า-กิจการที่เกี่ยวข้อง และไม่เกี่ยวข้องกัน | 1,807.03 | 1,637.88 | 169.15 |
เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน | 0.79 | 1.19 | (0.04) |
เจ้าหนี้อื่น-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน | 100.5 | 60.49 | 40.06 |
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย-กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน | 333.58 | 341.66 | (8.08) |
รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น | 2,241.95 | 2,041.22 | 200.73 |
3. หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ได้แก่ เงินรับล่วงหน้าค่าก่อสร้าง ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 เท่ากับ 2,957.03 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 990.02 ล้านบาท จากการที่ได้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างและได้รับเงินรับล่วงหน้า ค่าก่อสร้างจากผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะทยอยหักคืนเมื่อส่งมอบผลงานก่อสร้างให้แก่ผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ก่อสร้าง
4. งินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร ซึ่งปรากฏอยู่ในรายการ “ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี” และ “เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร-สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี” ยอดรวมเป็นดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
รายการ | ณ 31 ธ.ค.2563 | ณ 31 ธ.ค.2562 | เพิ่มขึ้น (ลดลง) |
ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารที่ ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี | 536.30 | 498.09 | 38.21 |
เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร-สุทธิ จากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี | 1,385.05 | 447,23 | 937.82 |
รวม | 1,921.35 | 945.32 | 976.03 |
5. หุ้นกู้ บริษัทได้ดำเนินการไถ่ถอนหุ้นกู้ซึ่งครบกำหนดไถ่ถอนทั้งจำนวนในวันที่ 28 สิงหาคม 2563 จำนวนเงิน 1,720.10 ล้านบาท โดยได้จ่ายชำระคืนครบถ้วนทั้งจำนวน
1. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2563 เปรียบเทียบกับปี 2562 ตามงบการเงินรวม
รายการ | ปี 2563 | ปี 2562 | เพิ่มขึ้น (ลดลง) | |
จำนวนเงิน | ร้อยละ | |||
1.1 รายได้จากการก่อสร้าง | 7,728.59 ล้านบาท | 6,318.23 ล้านบาท | 1,410.36 ล้านบาท | 22.32 |
1.2 ต้นทุนงานก่อสร้างเทียบกับรายได้จากการก่อสร้าง | 95.08% | 98.15% | – | (3.13) |
1.3 รายได้จากการขายและบริการ | ||||
– ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | 399.21 ล้านบาท | 424.61 ล้านบาท | 997.25 ล้านบาท | (5.98) |
– ธุรกิจผลิตภัณฑ์คอนกรีตและอื่นๆ | 1,801.15 ล้านบาท | 1,079.07 ล้านบาท | 722.08 ล้านบาท | 66.92 |
1.4 ต้นทุนขายและบริการเทียบกับรายได้จากการขายและบริการ | ||||
– ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ | 73.62 % | 62.26 % | – | 18.25 |
– ธุรกิจผลิตภัณฑ์คอนกรีตและอื่นๆ | 85.42 % | 87.85 % | – | (2.77) |
1.5 ค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย | 122.78 ล้านบาท | 139.63 ล้านบาท | (16.85) ล้านบาท | (12.07)) |
1.6 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร | 511.00 ล้านบาท | 588.19 ล้านบาท | (77.19) ล้านบาท | (13.12) |
1.7 ขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ทางการเงิน | 92.24 ล้านบาท | – | 92.24 ล้านบาท | |
1.8 ค่าใช้จ่ายทางการเงิน | 248.34 ล้านบาท | 218.41 ล้านบาท | 29.93 ล้านบาท | 13.70 |
2. ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2563
รายการ | ปี 2563 | ปี 2562 |
กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี ส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท ตามงบการเงินรวม | (240.93) ล้านบาท | (515.22) ล้านบาท |
กำไร (ขาดทุน) สำหรับปี ตามงบการเงินเฉพาะกิจการ | (307.96) | (380.99) ล้านบาท |
3. การวิเคราะห์และคำอธิบายของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2563 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวม 9,928.95 ล้านบาท โดยแบ่ง เป็นรายได้จากการก่อสร้าง 7,728.59 ล้านบาท รายได้จากการขายและบริการ 2,130.23 ล้านบาท และรายได้อื่น 70.13 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้น 2,107.04 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.94 โดยรายได้จากการ ก่อสร้างเพิ่มขึ้น 1,410.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.32 รายได้จากการขายและบริการเพิ่มขึ้น 708.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.82 ปี 2563 บริษัทมีขาดทุน สำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่ากับ 240.93 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2562 บริษัทมีขาดทุน สำหรับปีส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทเท่ากับ 515.22 ล้านบาท บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า ในปี 2563 เท่ากับ 18.13 ล้านบาท ในขณะที่ปี 2562 บริษัทรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนจากเงินลงทุนในกิจการดังกล่าว เท่ากับ 12.90 ล้านบาท รายละเอียดดังนี้
บริษัทยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอย่างมากในปี 2563 เริ่มจากการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งก่อให้เกิด ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศอย่างรุนแรง ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วยทำงาน ถึงแม้ โครงการก่อสร้างของภาครัฐเพื่อการพัฒนาประเทศเริ่มมีการเปิดประมูล แต่การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้รับเหมาก็ยังคงรุนแรงเช่นเดิม แม้จะเป็นปีที่มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย แต่ผู้บริหารและพนักงานทุกคนยังคงมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้บริษัทสามารถก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ไปได้
(หน่วย : ล้านบาท)
สัดส่วนการลงทุน | รับรู้ส่วนแบ่งกำไร (ขาดทุน) | ||
ปี 2563 | ปี 2562 | ||
บริษัท ซี.ไอ.เอ็น.เอสเตท จำกัด | ร้อยละ 40 | 18.13 ล้านบาท | (12.90) ล้านบาท |
บริษัทยังคงประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอย่างมากในปี 2563 เริ่มจากการระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งก่อให้เกิด ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศอย่างรุนแรง ทั้งยังส่งผลกระทบต่อการจัดหาแรงงานต่างด้าวเข้ามาช่วยทำงาน ถึงแม้ โครงการก่อสร้างของภาครัฐเพื่อการพัฒนาประเทศเริ่มมีการเปิดประมูล แต่การแข่งขันระหว่างบริษัทผู้รับเหมาก็ยังคงรุนแรงเช่นเดิม แม้จะเป็นปีที่มีอุปสรรคเกิดขึ้นมากมาย แต่ผู้บริหารและพนักงานทุกคนยังคงมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้บริษัทสามารถก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ไปได้
3.1 ผลการดำเนินงานปี 2563
ธุรกิจก่อสร้าง
รายได้จากการก่อสร้างปี 2563 เท่ากับ 7,728.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เท่ากับ 1,410.37 ล้านบาท หรือ เท่ากับร้อยละ 22.32 บริษัทต้องปรับประมาณการต้นทุนบางโครงการเพิ่มขึ้น จากปัญหาการรับมอบพื้นที่เพื่อเข้าทำงานล่าช้า บางโครงการมีงานทับซ้อนของผู้ว่าจ้างและปรับเปลี่ยนแบบการก่อสร้าง หยุด/ชะลองานเพราะแก้ไขแบบก่อสร้าง ในระหว่างปี 2563 ปัญหาได้รับการแก้ไข หลายโครงการเริ่มทยอยก่อสร้างได้ ในขณะเดียวกันมีรายได้จากโครงการใหม่หลายโครงการที่บริษัทเริ่ม ทยอยรับรู้รายได้ โครงการก่อสร้างที่ก่อรายได้ให้แก่บริษัทมากที่สุด 3 อันดับแรกของปี 2563 ได้แก่
ก. โครงการก่อสร้างงานโครงสร้างและงานสถาปัตย์ สถานีรถไฟฟ้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัทรับเหมาช่วงงานจาก บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) รายได้ปี 2563 เท่ากับ 1,398.59 ล้านบาท
ข. โครงการก่อสร้างงานโครงสร้างและงานสถาปัตย์ สถานีรถไฟฟ้าโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว- สำโรง ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย บริษัทรับเหมาช่วงงานจาก บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอน สตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) รายได้ปี 2563 เท่ากับ 1,300.76 ล้านบาท
ค. โครงการก่อสร้างบ่อพักและท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงคลองประปา ถึง มีนบุรี ของ การไฟฟ้านครหลวง บริษัทรับเหมาช่วงงานจาก บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ราย ได้ปี 2563 เท่ากับ 439.80 ล้านบาท
ธุรกิจอื่นๆ
รายได้จากการขายและบริการ ปี 2563 เท่ากับ 2,130.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เท่ากับ 708.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.82 รายได้จากการขายและบริการประกอบไปด้วย
- รายได้จากธุรกิจผลิตภัณพ์คอนกรีต รายได้ประเภทนี้สูงขึ้นมากในปี 2563 เนื่องจากบริษัทและบริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ จำ กัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยประกอบธุรกิจผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต สามารถทำ รายได้จากการขายผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีต ได้มากขึ้นกว่าปี 2562 มาก โดยเฉพาะการจำหน่ายให้แก่โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า
- ธุรกิจเหล็กแปรรูป
- ธุรกิจน้ำมัน
- ธุรกิจอาหาร
- ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ รายได้จากธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ลดลงในปี 2563 เมื่อเทียบกับปี 2562 เท่ากับ 25.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.98 บริษัทได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยลงจากโรคระบาด COVID-19 ปี 2563 ต้นทุนธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากปี 2562 เท่ากับร้อยละ 11.36 เนื่องจากมีการโอนกรรมสิทธิ์บ้าน จัดสรรโครงการบารานีพาร์ค ร่มเกล้า มากขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่มีต้นทุนต่อหลังสูงกว่าโครงการอื่นๆ
ค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่าย
ค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่ายสำหรับปี 2563 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เท่ากับ 16.85 ล้านบาทหรือประมาณร้อย ละ 12.07 โดยมีรายละเอียดดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
ชื่อ | ปี 2563 | ปี 2562 |
มานะพัฒนาการ จำกัด | 75.18 | 98.96 |
บริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ จำกัด | 44.16 | 37.00 |
บริษัท เทสท์เมคเคอร์ จำกัด | 3.43 | 3.67 |
รวมทั้งสิ้น | 122.78 | 139.63 |
ในปี 2563 บริษัท มานะ พัฒนาการ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายลดลงจากปี 2562 และ บริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตภัณฑ์คอนกรีต มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้นจากปี 2562 สอดคล้องกับยอดขายที่เพิ่มมากขึ้น
ค่าใช้จ่ายในการบริหาร
ค่าใช้จ่ายในการบริหารปี 2563 ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 เท่ากับ 77.19 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.12 โดยมีรายละเอียดดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
ชื่อ | ปี 2563 | ปี 2562 |
บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) | 298.31 | 382.84 |
บริษัท แอ็ดวานซ์ พรีแฟบ จำกัด | 61.87 | 72.99 |
บริษัท มานะพัฒนาการ จำกัด | 68.58 | 59.48 |
บริษัท ยูทิลิตี้ บิสิเนส อัลลายแอนซ์ จำกัด | 39.20 | 36.17 |
บริษัท เทสท์เมคเคอร์ จำกัด | 35.21 | 26.88 |
บริษัทย่อยอื่นๆ | 7.83 | 9.83 |
รวมทั้งสิ้น | 511.00 | 588.19 |
ในปี 2562 บริษัทมีค่าใช้จ่ายในการฟ้องร้องลูกหนี้ค้างชำ ระนานมากกว่าปี 2563 รวมถึงบริษัทและบริษัทย่อยได้รับรู้ค่าใช้จ่าย จากการปรับชดเชยสำหรับโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงานจากเดิม 300 วันเป็น 400 วัน และรับรู้ผลขาดทุนจากอัตรา แลกเปลี่ยน
การบันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ทางการเงิน
ในปี 2563 บริษัทได้บันทึกขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ทางการเงินจำนวนเงิน 94 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการตั้งค่าเผื่อขาดทุน จากการด้อยค่าของลูกหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืมที่แสดงมูลค่ายุติธรรมโดยประมาณตามมูลค่าตามบัญชี รายละเอียดดังนี้
(หน่วย : ล้านบาท)
ชื่อ | จำนวนเงิน |
Star Sapphire Hotel Co., Ltd | 91.17 |
บริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด | 9.84 |
รายอื่นๆ | 12.76 |
หัก รับคืนหนี้สงสัยจะสูญ | (19.53) |
รวม | 94.24 |
การออกและเสนอขายหุ้นกู้ 1,720.10 ล้านบาท และการไถ่ถอนเมื่อครบกำหนด
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2560 บริษัทได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้อายุ 3 ปี จำนวน 2,000,000 หน่วย มูลค่าที่ตรา ไว้ หน่วยละ 1,000 บาท รวมเป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ครบกำหนดไถ่ถอนทั้งจำ นวนในวันที่ 28 สิงหาคม 2563 หุ้นกู้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.50 ต่อปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการลงทุน ชำระคืนหนี้เงินกู้ และใช้เป็นเงิน ทุนหมุนเวียน หุ้นกู้สามารถจำ หน่ายได้ทั้งหมด 1,720.1 ล้านบาท ดอกเบี้ยจ่ายหุ้นกู้ปี 2563 เท่ากับ 50.90 ล้านบาท ตามข้อกำหนดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ออกหุ้นกู้และผู้ถือหุ้นกู้ บริษัทต้องรักษาอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ณ วันสิ้นไตรมาสและวันสิ้นปี ไม่ให้มากกว่า 2.5 : 1 ซึ่งบริษัทได้จัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้ในวันที่ 16 มีนาคม 2563 เพื่อขอมติอนุมัติแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดสิทธิบางประการ ดังนี้
1. แก้ไขคำจำกัดความของคำว่า “หนี้สินสุทธิ (Net Debt)” จาก “จำนวนหนี้สินทั้งหมดตามที่ปรากฏในงบการ เงินรวมของผู้ออกหุ้นกู้ หักด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด” แก้ไขเป็น “จำนวนหนี้สินทั้งหมดเฉพาะ ที่มีภาระดอกเบี้ยตามที่ปรากฏในงบการเงินรวมของผู้ออกหุ้นกู้ หักด้วยเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด”
2. ปรับอัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Net Debt to Equity Ratio) จากเดิม 2.5 : 1 เป็น 2.25 : 1ซึ่งที่ประชุมผู้ถือ หุ้นกู้ได้มีมติให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดสิทธิได้ตามที่บริษัทขออนุมัติ ทั้งนี้ ในวันที่ 3 เมษายน 2563 บริษัทได้จ่ายค่า ธรรมเนียมให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ทุกรายที่มีรายชื่อ ณ วันที่ 2 มีนาคม 2563 ในอัตราร้อยละ 0.70 ของมูลค่าหุ้นกู้
หุ้นกู้ชุดนี้ได้ครบกำหนดไถ่ถอนเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2563 ซึ่งบริษัทได้ดำเนินการชำระคืนทั้งจำนวน 1,720.10 ล้านบาท ในระหว่างปี 2563 บริษัทไม่ได้ออกและเสนอขายหุ้นกู้เพิ่มเติม
กิจการร่วมค้า เอ็นดับเบิ้ลยูอา-เอสบีซีซี
เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของบริษัท สระบุรีถ่านหิน จำกัด (“สระบุรีฯ”) ซึ่ง เป็นคู่สัญญาในการร่วมค้าตามสัญญากิจการร่วมค้า เอ็นดับเบิ้ลยูอา-เอสบีซีซี เพื่อดำเนินการโครงการงานจ้างเหมาขุด-ขนดิน และถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อัตราหุ้นส่วนของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายร้อยละ 50 การที่สระบุรีฯ ถูกศาลล้มละลายกลางสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถือว่าสระบุรีฯ ปฏิบัติผิดสัญญากิจการร่วมค้า บริษัทจึงใช้สิทธิ ตามสัญญากิจการร่วมค้า แจ้งยกเลิกการทำหน้าที่ของสระบุรีฯ จากกิจการร่วมค้า เอ็นดับเบิ้ลยูอา-เอสบีซีซี (“กิจการร่วมค้า”) ต่อมา เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 ศาลได้มีคำพิพากษาให้สระบุรีฯ ล้มละลายแล้ว
เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 บริษัทได้มีหนังสือถึงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของสระบุรีฯ เพื่อแจ้งยกเลิกการทำหน้าที่ของสระบุรีฯ ในกิจการร่วมค้า อันเป็นผลให้บทบาท สิทธิ และหน้าที่ ของสระบุรีฯ ตามสัญญากิจการร่วมค้าสิ้นสุดลง โดยบริษัทมีสิทธิและหน้าที่ เข้าควบคุมและดำเนินการตามสัญญาจ้างดังกล่าว จนกว่างานจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 23 เมษายน 2561 ผลของคดีความของสระบุรีฯ และการใช้สิทธิของบริษัท ไม่ได้ทำให้อัตราส่วนการร่วมทุนของบริษัทในกิจการ ร่วมค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการโครงการดังกล่าวกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแต่ อย่างใด
ปัจจุบันโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว และได้ขายเครื่องจักรและอุปกรณ์ใช้ในโครงการออกไปหมดแล้วเช่นกัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 ที่ประชุมเจ้าหนี้ของบริษัท สระบุรีถ่านหิน จำกัด มีมติให้เลิกกิจการร่วมค้านี้ พร้อมทั้งแต่งตั้งผู้ชำระ บัญชี ต่อมา เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 10 ได้แจ้งขีดชื่อกิจการร่วมค้า เอ็นดับเบิ้ลยู อา-เอสบีซีซี ออกจากทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินและผลการดำเนินงานปี 2562
ปี 2560
เศรษฐกิจโลกเติบโตเกินความคาดหวังของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ ซึ่งคาดว่าน่าจะเติบโตต่อเนื่องไปยังปี 2561 อย่างไรก็ตาม นโยบายปกป้องทางการค้าของประเทศสหรัฐอเมริกาที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ประกาศออกมา ได้สร้างความกังวลให้เกิดขึ้น เริ่มตั้งแต่การออกจากความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเซีย-แปซิฟิก (TPP) ตามมาด้วยการประกาศจะพิจารณาออกจากความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ซึ่งได้รับการคัดค้านอย่างรุนแรง สำหรับภายในประเทศเอง การก่อสร้างของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในปี 2560 ปรับตัวลดลง แต่ภาครัฐวิสาหกิจ กลับขยายตัวในเกณฑ์สูง โดยที่คาดว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2561 จะเติบโตขึ้นจากการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของภาครัฐ และภาคเอกชนเองก็มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นเช่นกัน
ปี 2561
หกเดือนแรกของปี เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นไปในทิศทางเดียวกันในทุกภูมิภาคหลัก จากภาวะการค้าโลกและการบริโภคภาคเอกชนที่ดีต่อเนื่อง อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตาม มีความเสี่ยงที่ควรจับตามองหลายเรื่อง ได้แก่ การดำเนินนโยบายการคลังของประเทศสหรัฐอเมริกา นโยบายปฏิรูประบบภาษี ที่ก่อให้เกิดสงครามทางการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและจีน ความผันผวนของราคาน้ำมันและอัตราแลกเปลี่ยน เสถียรภาพทางการเมืองของประเทศในทวีปยุโรป และปัญหาหนี้ในระบบเศรษฐกิจของจีน ส่วนเศรษฐกิจภายในประเทศมีการขยายตัว โดยมีแรงสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจโลกซึ่งสนับสนุนระดับสินค้าในตลาดโลก ทำให้การส่งออกขยายตัว การใช้จ่ายของภาครัฐและการลงทุนของภาคเอกชนอยู่ในเกณฑ์สูง และการปรับตัวดีขึ้นและการกระจายตัวมากขึ้นของฐานรายได้
ปี 2562 มีเหตุการณ์วุ่นวายเกิดขึ้นในหลายประเทศรอบโลก ตัวอย่างเช่น
- เดือนมิถุนายน 2562 เกิดการประท้วงในฮ่องกง ซึ่งเริ่มจากการต่อต้านกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน การประท้วงได้ขยายกลายเป็นการเรียกร้องประชาธิปไตย ส่งผลให้เศรษฐกิจภายในฮ่องกงเสียหายอย่างหนัก
- การเลื่อน Brexit หรือการถอนตัวออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร มีการขอให้สหภาพยุโรปเลื่อนเส้นตาย Brexit หลายครั้ง เพื่อไม่ให้เกิด Brexit แบบไร้ข้อตกลง ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เส้นตายสุดท้ายของ Brexit ที่สหภาพยุโรปอนุญาตคือ 31 มกราคม 2563
- ในระหว่างปี 2562 เกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของประเทศต่างๆเป็นอย่างมาก สงครามการค้าได้บานปลาย เริ่มแรกจากเรื่องภาษี ขยายเป็นด้านเทคโนโลยี ค่าเงิน การลงทุน อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคม ทั้งสหรัฐอเมริกาและจีนได้หันหน้ามาเจรจาเพื่อยุติสงครามการค้า แต่หลายคนมองว่า เป็นแค่การยุติชั่วคราวเท่านั้น
คำชี้แจงฐานะการเงินและผลการดำเนินงานปี 2562
คำชี้แจงฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
สรุปฐานะการเงินของบริษัทตามงบการเงินรวม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 สินทรัพย์รวมของกลุ่มบริษัทเท่ากับ 13,353.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 310.60 ล้านบาท
รายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านสินทรัพย์ ประกอบด้วย
- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 596.88 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 650.29 ล้านบาท บริษัทใช้เงินไปเพื่อดำเนินการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้
- ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 ก่อนหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เท่ากับ 2,346.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 158.72 ล้านบาท ในกรณีที่ลูกค้าไม่ชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีการคิดดอกเบี้ยสำหรับยอดหนี้ที่ได้รับชำระล่าช้า โดยคำนวณจากวันที่ครบกำหนดชำระตามเงื่อนไข และถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งลูกหนี้การค้าทั่วไป และลูกหนี้การค้าที่เป็นบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน แต่ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัทมีการผ่อนผันไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากลูกหนี้การค้าบางรายที่มีการชำระล่าช้าเพียงเล็กน้อย เว้นแต่ในรายที่มีการฟ้องร้องให้ชำระหนี้
บริษัทได้บันทึกค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับลูกหนี้ที่มีปัญหาด้านการชำระเงินทุกรายที่มียอดค้างชำระเกินหนึ่งปีขึ้นไปตามหลักเกณฑ์และนโยบายของบริษัทรายการ ค่าเผื่อ
หนี้สงสัยจะสูญยอดหนี้รวม ยังไม่ถึง
กำหนดชำระค้างชำระไม่เกิน
12 เดือนค้างชำระมากกว่า
12 เดือนลูกหนี้การค้าณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 1,045.46 2,165.86 441.81 346.24 1,377.81 ลูกหนี้การค้าณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 1,027.88 2,282.32 737.19 477.30 1,067.83 เพิ่มขึ้น (ลดลง) (17.58) 116.46 295.38 131.06 (309.98) - สินค้าคงเหลือ ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 1,327.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ416.02 ล้านบาท ยอดที่เพิ่มขึ้นมาจากสินค้าสำเร็จรูปประเภทผลิตภัณฑ์คอนกรีตซึ่งผลิตเสร็จ รอส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ
- เงินให้กู้ยืมระยะยาว ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 306.20 ล้านบาท ในขณะที่ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ -0- บาท แบ่งเป็นเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน 12 ล้านบาท และเงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 294.20 ล้านบาท
เงินให้กู้ยืมแก่กิจการที่ไม่เกี่ยวข้องกัน 282 ล้านบาท คือลูกหนี้การค้าราย Star Sapphire Hotel Company Limited ซึ่งตกลงที่จะทำสัญญาเงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อผ่อนชำระหนี้ค่าก่อสร้างให้แก่บริษัทพร้อมดอกเบี้ย
รายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญด้านหนี้สิน ประกอบด้วย
- เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม2562 เท่ากับ 2,169.44 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 495 ล้านบาท จากการกู้ยืมระยะสั้นเพิ่มมากขึ้นจากสถาบันการเงิน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินงาน
- เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 2,041.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 348.49 ล้านบาท เนื่องจากมีการสั่งซื้อวัสดุเพิ่มมากขึ้นเพื่อเตรียมผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตตามคำสั่งซื้อ
ณ 31 ธ.ค.2562 ณ 31 ธ.ค.2561 เพิ่มขึ้น (ลดลง) เจ้าหนี้การค้า – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน 1,637.88 1,193.61 444.27 เงินทดรองจากกิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน 1.19 0.11 1.08 เจ้าหนี้อื่น – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน 60.49 85.12 (24.63) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย – กิจการที่เกี่ยวข้องกัน และไม่เกี่ยวข้องกัน 341.66 413.89 (72.23) รวมเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 2,041.22 1,692.73 348.49 - หนี้สินที่เกิดจากสัญญา ได้แก่ เงินรับล่วงหน้าค่าก่อสร้าง ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 1,967 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 252.05 ล้านบาท จากการที่ได้มีการลงนามในสัญญาก่อสร้างและได้รับเงินรับล่วงหน้าค่าก่อสร้างจากผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะทยอยหักคืนเมื่อส่งมอบผลงานก่อสร้างให้แก่ผู้ว่าจ้าง ทั้งนี้ จะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาก่อสร้าง
- เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร ประกอบด้วย
4.1 ส่วนของเงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคารที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี ยอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 498.09 ล้านบาท
4.2 เงินกู้ยืมระยะยาวจากธนาคาร-สุทธิจากส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปียอด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 447.23 ล้านบาท
รวมยอดเงินกู้ยืมระยะยาว ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 เท่ากับ 945.32 ล้านบาท ลดลงจาก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 เท่ากับ 86.97 ล้านบาท