คณะกรรมการบริหาร
[awsmteam id=”2515″]
คณะกรรมการบริหารของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- พิจารณากำหนดกลยุทธ์และแผนการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งกำกับดูแลการจัดการ การดำเนินงานของบริษัท ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด
- ทบทวนผลการดำเนินงานเป็นระยะ เพื่อหาแนวทางแก้ไขอย่างรวดเร็วให้บรรลุเป้าหมายธุรกิจ
- พิจารณา และให้ความเห็นชอบงบประมาณประจำปี และโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของบริษัทก่อนเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติต่อไป
- กำหนดโครงสร้างองค์กร และบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยครอบคลุมทั้งเรื่องการคัดเลือก การฝึกอบรม การว่าจ้าง การเลิกจ้าง และการกำหนดค่าตอบแทนของพนักงานของบริษัท และคณะผู้บริหาร
- มีอำนาจในการทำนิติกรรมผูกพันกับบริษัท ตามขอบเขตที่กำหนดไว้ในนโยบายการกำกับดูแลกิจการ และระเบียบวิธีปฏิบัติของบริษัท
- ให้คำปรึกษาแก่คณะกรรมการบริษัทเกี่ยวกับการตัดสินใจในเรื่องที่มีความสำคัญ
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการตรวจสอบ
[awsmteam id=”2530″]
คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- สอบทานความถูกต้อง การเปิดเผยอย่างเพียงพอ และความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินของบริษัทตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป
- สอบทานการปฏิบัติงานของบริษัทตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
- พิจารณา คัดเลือก เสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ผู้สอบบัญชีของบริษัท และเสนอค่าตอบแทนของบุคคลดังกล่าว รวมทั้งเข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชีโดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายในและระบบการตรวจสอบภายในที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล และพิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน ตลอดจนให้ความเห็นชอบในการพิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้างหัวหน้างานตรวจสอบภายใน หรือหน่วยงานอื่นใดที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการตรวจสอบภายใน
- พิจารณารายการที่เกี่ยวโยงกันหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจว่ารายการดังกล่าวสมเหตุสมผลและเป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
- สอบทานให้บริษัทมีระบบบริหารความเสี่ยงและมาตรการในการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล
- สอบทานและให้ความเห็นต่อแผนตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจสอบภายใน
- จัดทำรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวต้องลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
(ก) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงินของบริษัท
(ข) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบควบคุมภายในของบริษัท
(ค) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
(ง) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชี
(จ) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยน์
(ฉ) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบและการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการตรวจสอบแต่ละท่าน
(ช) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
(ซ) รายงานอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท - มีอำนาจเชิญฝ่ายจัดการ ผู้บริหาร หรือพนักงานของบริษัทที่เกี่ยวข้องมาให้ความเห็น ร่วมประชุม หรือส่งเอกสารที่เห็นว่าเกี่ยวข้องจำเป็นตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ
- สอบทานกฎบัตรเป็นประจำทุกปีเพื่อพิจารณาความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบที่กำหนดไว้และเสนอให้พิจารณาปรับเปลี่ยนตามความจำเป็น
- กำกับดูแลให้มีกระบวนการรับแจ้งเบาะแสในกรณีที่พนักงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆมีข้อสงสัยหรือพบเห็นการกระทำอันควรสงสัยว่ามีการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ หรือนโยบายกำกับดูแลกิจการ เพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้แจ้งเบาะแสว่าบริษัทมีกระบวนการสอบสวนที่เป็นอิสระ และมีการดำเนินการในการติดตามที่เหมาะสม
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการกำกับดูเเลกิจการ
[awsmteam id=”2545″]
คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- กำหนดนโยบายการกำกับดูแลกิจการภายใต้กรอบของกฎหมาย มติคณะรัฐมนตรี หลักเกณฑ์ ระเบียบและข้อบังคับที่เป็นปัจจุบันขององค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแล เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากล และนำเสนอคณะกรรมการบริษัทพิจารณาอนุมัติ และประกาศใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติที่ดีของกรรมการ ฝ่ายบริหาร และพนักงานในทุกระดับ
- กำกับ ดูแล เสนอแนะแนวนโยบาย และแนวทางการส่งเสริมให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทปฏิบัติหน้าที่ และมีความรับผิดชอบให้สอดคล้องและเป็นไปตามกรอบและหลักเกณฑ์ของนโยบายการกำกับดูแลกิจการ
- กำหนดแนวทางการรายงานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการในรายงานประจำปี
- พิจารณาให้ความเห็นชอบการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์การกำกับดูแลกิจการของบริษัทสู่สาธารณชนในวงกว้าง รวมถึงการปรับปรุงการเผยแพร่ข้อมูลการกำกับดูแลกิจการทางเว็บไซต์ของบริษัท
- พิจารณา ทบทวน และปรับปรุงนโยบายการกำกับดูแลกิจการอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อให้นโยบายการกำกับดูแลกิจการของบริษัททันสมัย และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติตามมาตรฐานสากล
- ทบทวนกฎบัตรของคณะกรรมการบรรษัทภิบาล เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติตามมาตรฐานสากล
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการจรรยาบรรณธุรกิจ
[awsmteam id=”2560″]
คณะกรรมการจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- พิจารณา กำหนด ให้ความเห็นชอบ และจัดทำหลักจรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมทั้งข้อกำหนดด้านจริยธรรมเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทต่อผู้ถือหุ้น ชุมชน และสังคมโดยรวม และนำเสนอต่อกรรมการบริษัทเพื่อพิจารณาอนุมัติ
- พิจารณา และทบทวนหลักจรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง และเหมาะสมกับสถานการณ์
- กำกับ ดูแล ตลอดจนติดตามให้ทุกหน่วยงานภายในบริษัทปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณธุรกิจ นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และข้อกำหนดด้านจริยธรรมอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
[awsmteam id=”2570″]
คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- กำหนด ทบทวน และให้ความเห็นชอบนโยบายการบริหารความเสี่ยง แผนแม่บทบริหารความเสี่ยง ตลอดจนอำนวยการและดำเนินการจัดการวางระบบบริหารความเสี่ยงของบริษัท รวมทั้งพิจารณา ทบทวนแผนบริหารความเสี่ยงให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้อง เหมาะสมกับสถานการณ์
- ประเมิน ติดตาม และดูแลระดับความเสี่ยงของบริษัทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- กำกับ ดูแล ตลอดจนติดตามให้ทุกหน่วยงานภายในบริษัทปฏิบัติตามนโยบายบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
- พิจารณา และอนุมัติงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินงานด้านบริหารความเสี่ยง รวมถึงดูแลความเพียงพอของทรัพยากรที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยง
- ติดตามและรายงานสถานะความเสี่ยงของบริษัท ต่อคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการตรวจสอบ
- แต่งตั้งคณะทำงานได้ตามที่เห็นสมควร
- ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
[awsmteam id=”2584″]
คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- พิจารณาโครงสร้าง ขนาด และองค์ประกอบคณะกรรมการบริษัทให้มีความเหมาะสมกับองค์กร และสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป
- ดูแลให้โครงสร้างของคณะกรรมการบริษัทประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถที่หลากหลาย มีประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ ยึดมั่นในคุณธรรมและความซื่อสัตย์ โดยไม่จำกัดเพศ เชื้อชาติ ศาสนา อายุ ทักษะทางวิชาชีพ หรือคุณสมบัติเฉพาะด้านอื่นๆ
- พิจารณาหลักเกณฑ์ในการสรรหากรรมการบริษัท สรรหา และพิจารณากลั่นกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติแต่งตั้งเป็นกรรมการบริษัท
- พิจารณาคุณสมบัติของบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการอิสระ ให้มีความเป็นอิสระเป็นไปหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยคณะกรรมการกำกับตลาดทุน และตามหลักเกณฑ์ที่บริษัทกำหนด
- เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นรายย่อยเสนอรายชื่อบุคคลเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการบริษัท โดยมีกำหนดระยะเวลาอย่างเพียงพอก่อนการประชุมผู้ถือหุ้น
- กำหนดวิธีการสรรหาและคุณสมบัติของผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการใหญ่/กรรมการผู้จัดการ
- ดำเนินการสรรหาและเสนอแนะผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่/ กรรมการผู้จัดการต่อคณะกรรมการบริษัท
- จัดให้มีแผนสืบทอดตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่/กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูงเพื่อเสนอให้คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้พิจารณา
- พิจารณารูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการบริษัท กรรมการชุดย่อย และกรรมการผู้จัดการใหญ่/กรรมการผู้จัดการให้มีความชัดเจน เป็นธรรม และเหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบ ความสำเร็จในการปฏิบัติงานที่เชื่อมโยงกับผลประกอบการ และปัจจัยแวดล้อมอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนพิจารณาเปรียบเทียบกับอัตราค่าตอบแทนของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือใกล้เคียงกับบริษัทฯเพื่อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริษัทโดยคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้นในระยะยาว
- พิจารณากำหนดค่าตอบแทนแก่กรรมการบริษัทและกรรมการชุดย่อยเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทพิจารณาเห็นชอบ และนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติ
- พิจารณาการกำหนดเป้าหมายและประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้จัดการใหญ่/กรรมการผู้จัดการ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดค่าตอบแทน
- พิจารณาแผนการพัฒนาความรู้ของกรรมการในปัจจุบันและกรรมการเข้าใหม่ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของกรรมการที่ดำรงตำแหน่งอยู่ รวมถึงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัท และพัฒนาการต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการลักษณะธุรกิจที่บริษัทฯ ดำเนินกิจการอยู่
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดผลตอบแทน มีสิทธิเข้ารับการอบรม หรือเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ทรัพยากรของบริษัทฯ
- คณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนมีอำนาจเชิญ ผู้บริหาร หรือผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมได้
- ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
คณะกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
[awsmteam id=”2591″]
คณะกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของบริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) มีหน้าที่ และความรับผิดชอบดังนี้
- กำหนดกรอบนโยบายและแผนการดำเนินงานด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ของบริษัทเพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริษัทให้ความเห็นชอบ โดยมีอำนาจเชิญฝ่ายบริหาร พนักงาน หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องของบริษัทมาให้ความเห็น เข้าร่วมประชุม หรือให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
- แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินกิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ได้ตามที่เห็นสมควร รวมทั้งติดตามการดำเนินงานโดยให้จัดทำรายงานการดำเนินกิจกรรมด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอคณะกรรมการความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- สอบทานผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และรายงานให้คณะกรรมการบริษัทรับทราบ
- ติดตามและรายงานให้คณะกรรมการบริษัทได้รับทราบประเด็นหรือแนวโน้มด้านการพัฒนาสู่ความ ยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคมทั้งที่เป็นปัจจุบันและที่จะเกิดใหม่ในอนาคต
- สอบทาน และให้ความเห็นชอบการเปิดเผยรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในรายงานประจำปีของบริษัท
- พิจารณา และอนุมัติงบประมาณและค่าใช้จ่ายต่างๆในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ปฏิบัติการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย